AUN-QA


(Asean University Network Quality Assurance)

งานประกันคุณภาพการศึกษา สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร

AUN-QA

       AUN-QA คือ เครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน เป็นความร่วมมือของสถาบันอุดมศึกษาระหว่างประเทศสมาชิกสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเชียงใต้หรืออาเซียน มีจุดมุ่งหมายในการจัดตั้งเพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางด้านการศึกษา อันเป็นกลไกสำคัญในการสร้างรากฐานให้กับสังคมและความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในภูมิภาค ก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนพฤศจิกายน ค.ศ 1995 (พ.ศ.2538) รวม 13 สถาบัน ต่อมาได้ขยายความร่วมมือระหว่างอาเซียนเพิ่มมากขึ้น ทำให้สมาชิกเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซี่ยนเพิ่มจำนวนเป็น 26 สถาบัน จาก 10 ประเทศอาเซียน โดยสำนักงานเลขานุการเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน (AUN Secretariat) ตั้งอยู่ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยประเทศไทย
       AUN-QA ได้เปิดรับสมาชิกสมทบ (Associate Membership) ตั้งแต่ต้นปี พ.ศ.2556 เรียกว่า เครือข่ายการประกันคุณภาพมหาวิทยาลัยอาเซียน (ASEAN University Network Quality Assurance : AUNQA) AUN-QA ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ.2541 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างกลไกการประกันคุณภาพและมาตรฐานอุดมศึกษาของมหาวิทยาลัยสมาชิกให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน

ระบบการประกันคุณภาพของ AUN-QA

การประกันคุณภาพมหาวิทยาลัยอาเซียน (ASEAN University Network Quality Assurance : AUNQA) ประกอบด้วย 3 มิติ คือ

1. Strategic เป็นการประกันคุณภาพระดับสถาบันการศึกษา
2. Systemic เป็นการประกันคุณภาพระบบการประกันคุณภาพภายใน
3. Tactical เป็นการประกันคุณภาพระดับโปรแกรมหรือระดับหลักสูตร

           รูปแบบการประกันคุณภาพระดับโปรแกรมหรือระดับหลักสูตรเน้นที่การจัดการเรียนการสอนโดยพิจารณาคุณภาพภายใน 3 มิติ คือ ปัจจัยนำเข้ากระบวนการ และผลผลิต/ผลลัพธ์ โดยมีรูปแบบเริ่มจากผลการเรียนรู้ที่คาดหวังที่จะให้เกิดกับตัวผู้เรียน การแปลงผลการเรียนรู้ที่คาดหวังไปสู่โปรแกรมการศึกษาและวิธีที่จะทำให้บรรลุผลสัมฤทธิ์ผ่านกลยุทธ์การจัดการเรียนการสอน การวัดและประเมินผล การประเมินคุณภาพระดับโปรแกรมการศึกษาของ AUNQA ใช้ระบบการประเมินจากคะแนนเต็ม 7 ในลักษณะ Rating scale

           เกณฑ์การประเมินคุณภาพระดับโปรแกรมหรือระดับหลักสูตรการศึกษา ประกอบด้วย เกณฑ์ AUN-QA (Version 4.0) จำนวน 8 ข้อ และในแต่ละ เกณฑ์ยังประกอบด้วยเกณฑ์การพิจารณาย่อย ๆ 53 ตัวบ่งชี้ เกณฑ์หลักในการประเมินคุณภาพ มีดังนี้

      1.          ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง (Expected Learning Outcomes)                       จำนวน 5 ตัวบ่งชี้
      2.          โครงสร้างเนื้อหาหลักสูตร (Programme Structure and Content)                       จำนวน 7 ตัวบ่งชี้
      3.          การจัดการเรียนการสอน (Teaching and Learning Approach)                       จำนวน 6 ตัวบ่งชี้
      4.          การประเมินผู้เรียน (Student Assessment)                       จำนวน 7 ตัวบ่งชี้
      5.          บุคลากรสายวิชาการ (Academic Staff)                       จำนวน 8 ตัวบ่งชี้
      6.          การบริการสนันสนุนผู้เรียน (Student Support Services)                       จำนวน 6 ตัวบ่งชี้
      7.          สิ่งอำนวยความสะดวก และโครงสร้างพื้นฐาน (Facilities and Infrastructure)                       จำนวน 9 ตัวบ่งชี้
      8.          ผลผลิตและผลลัพธ์ (Output and Outcomes)                       จำนวน 5 ตัวบ่งชี้

ดาวน์โหลดคู่มือ AUN-QA Version_4.0 (EN)

  
         ดาวน์โหลดเอกสารที่เกี่ยวข้อง          
         รายชื่อผู้ประเมินฯ ระดับหลักสูตรที่ขึ้นทะเบียน ทปอ. (Version 4.0)          
         รายชื่อผู้ประเมิน AUN QA ของอาเซียน